โรคฝีดาษลิง ไม่ใช่โรคใหม่ แต่เคยระบาดมาแล้วมากกว่า 20 ปี (พบไวรัสครั้งแรกในปี 1958

Loading

โรคฝีดาษลิง ( monkey pox )

โรคฝีดาษลิง ไม่ใช่โรคใหม่ แต่เคยระบาดมาแล้วมากกว่า 20 ปี (พบไวรัสครั้งแรกในปี 1958)

อาการของโรค

  • ไข้
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • ปวดศีรษะ
  • อ่อนเพลีย
  • มีผื่นคล้ายโรคอีสุกอีใส บริเวณใบหน้า ฝ่ามือฝ่าเท้า เยื่อบุภายในปาก อวัยวะเพศ และเยื่อบุตาและลามไปส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  • ผื่นเริ่มจาก ผื่นราบ-ผื่นนูน กลายเป็น ตุ่มน้ำ ตุ่มหนองแตกออก และตกสะเก็ดในที่สุด
  • ต่อมน้ำเหลืองโตจุดแตกต่างระหว่างฝีดาษกับฝีดาษลิง คือฝีดาษจะไม่มีต่อมน้ำเหลืงโต เช่นเดียวกับในฝีดาษลิง ภายใน 1-3 วัน
โรคฝีดาษลิงที่เรากลัว ติดต่อผ่านทางฉี่ได้หรือไม่?

จากกรณีข่าวล่าสุด ไทยพบผู้ติดไวรัสฝีดาษลิง (Monkeypox) หรือฝีดาษวานร คนแรกที่ จ.ภูเก็ต เป็นชายชาวไนจีเรีย อายุ 27 ปี ผลตรวจยืนยันตั้งแต่วันอังคาร (19 ก.ค.) ทำให้เกิดข้อกังวลมากมาย โดยเฉพาะในเรื่องการแพร่กระจายเชื้อ ประเด็นหนึ่งที่ถูกยกนำมาพูดถึงอีกครั้งคือ การแชร์ในโลกออนไลน์ว่า สามารถติดต่อได้ง่ายๆ เพียงแค่ปัสสาวะของผู้ติดเชื้อกระเด็นใส่

เรื่องนี้ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยโพสต์อธิบายไว้ผ่านทางเฟสบุ๊ก อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ ระบุชัดเจนว่า “ฝีดาษลิง ไม่ได้ติดกันง่ายๆ เพียงแค่โดนฉี่กระเด็นใส่ นะครับ”

โอกาสติดโรคก็ไม่ได้จะสูงมากมายอย่างโควิดนะครับ หลักๆ จะเป็นการใกล้ชิด พูดคุย คลุกคลี ใช้สิ่งของร่วมกัน สัมผัสโดนน้ำคัดหลั่งจากผู้ติดเชื้อแล้วมาเข้าสู่บาดแผลบนตัวเรา หรือเข้าไปทางปาก จมูก ตา ให้จำนวนไวรัสเข้าไปเยอะมากเพียงพอที่จะเป็นโรค .. ไม่ใช่ว่าโดนผิวปุ๊บ แล้วติดโรคปั๊บ

ล่าสุดนี่ เห็นคนแชร์คลิปติ๊กต๊อกเตือนเข้าห้องน้ำ แล้วจะติดโรคฝีดาษลิงได้ (ซึ่งจริงๆ ก็ยังไม่มีรายงานการระบาดในไทยนะ) อันเนื่องจากไปสัมผัสโดนฉี่ที่เปื้อนอยู่ตามฝารองนั่งชักโครก !? ทำเอาตกอกตกใจกันใหญ่ จะไม่กล้าเข้าห้องน้ำสาธารณะกัน กลัวติดฝีดาษลิง (ซึ่งจริงๆ ก็ควรทำความสะอาดอยู่แล้วนะ เวลาจะใช้เนี่ย)

ต้องขอยก“ นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ” รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ที่ให้สัมภาษณ์เรื่่องนี้เอาไว้นะครับ ว่า ” ความกังวลใจของคนในการเข้าห้องน้ำสาธารณะ เกรงว่าจะติดเชื้อฝีดาษลิง อยากให้เข้าใจว่าการปัสสาวะไม่ได้ฟุ้งกระจายมาก จนแพร่เชื้อหรือรับเชื้อได้ แต่อยู่ที่ตุ่มบริเวณอวัยวะเพศ หากแตกออกมาก็สามารถแพร่เชื้อได้จากการสัมผัสโดยตรง ไม่ใช่จากการปัสสาวะ จากความกลัวของหลายๆ คน ”

::: ขอบคุณรูปภาพจาก :::
https://www.sanook.com
https://www.siphhospital.com
::: ขอบคุณแหล่งข้อมูล :::
https://www.sanook.com
อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฏ์
ตรายาง, ตรายางหมึกในตัว