จักรพรรดิเสินหนง.

Loading

ประวัติความเป็นมาของกัญชา กัญชง หรือ เฮมพ์ (Cannabis sativa L.subsp. sativa) และกัญชา (Cannabis sativa L.subsp. indica)

กัญชามีชื่อทางพฤกษศาสตร์เดียวกันคือ Cannabis sativa L. เพราะมีต้นกําเนิดมาจากพืชเดิมชนิดเดียวกัน  ลักษณะ ภายนอกหรือสัณฐานวิทยาของพืช ทั้งสองชนิดนั้นจึงไม่แตกต่างกันหรือมีความแตกต่างกันมากจนยากในการ จําแนก THC และ CBD แตกต่างกัน

หลักฐานแรกสุดของโลกโบราณที่พอจะมีปรากฏให้เห็นถึงการนำเอา “กัญชา” มาใช้ประโยชน์นั้นสามารถย้อนกลับไปได้ไกลถึงราว 26,900 ปีก่อนคริสตกาล ในยุคนั้นยังไม่มีอารยธรรมใดเกิดขึ้น มนุษย์ส่วนใหญ่ของโลกยังอยู่ใน “ยุคหินเก่า” 

แต่สิ่งที่นักโบราณคดีค้นพบไม่ใช่หลักฐานของการ “พี้ยา” ครั้งแรกของโลกหรอกนะครับ แต่เป็นการนำเอาเส้นใยของกัญชามาผลิตเป็น “เส้นเชือก” และหลักฐานที่ว่านั้นก็คือ เชือกโบราณจากเส้นใยของต้นกัญชาที่ค้นพบจากสาธารณรัฐเช็ก เมื่อปี ค.ศ.1997 หลังจากนั้นเมื่อราว 8,000 ปีก่อนคริสตกาล นักโบราณคดีเริ่มค้นพบหลักฐานของการปลูกกัญชาในแปลงเกษตร และมีการนำเอาเส้นใยของกัญชามาใช้ในงานเครื่องปั้นดินเผาของชนโบราณในแถบไต้หวันด้วยเช่นกัน สำหรับ “แหล่งกำเนิด” ของต้นกัญชาก่อนที่เจ้าพืชมหัศจรรย์ชนิดนี้จะเริ่มแพร่กระจายออกไปทั่วโลกนั้นก็ถูกเสนอกันว่าน่าจะอยู่ในแถบ “เอเชียกลาง”

จากการที่พืชทั้งสองชนิดนี้มีการใช้ประโยชน์อย่างมากมายมาเป็นระยะเวลายาวนานจึงทําให้มีการ คัดเลือกพันธุ์เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่มีคุณสมบัติดีและเหมาะสมที่สุด ตรงตามวัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์ จึงมีความ แตกต่างกันชัดเจนมากขึ้นระหว่าง ต้นกัญชาที่เป็นยาเสพติดและกัญชงที่ใช้เป็นพืชเส้นใยในปัจจุบัน กัญชง-กัญชาเป็นพืชเดิมที่ขึ้นอยู่ในเขตอบอุ่นของทวีปเอเชีย สันนิษฐานว่า มีการกระจายพันธุ์เป็นบริเวณกว้างอยู่ทางตอนกลางของ ทวีป ได้แก่พื้นที่ทางตอนใต้ของไซบีเรีย ประเทศเปอร์เซีย ทาง ตอนเหนือของประเทศอินเดียบริเวณแคชเมีย และ เชิงเขาหิมาลัย และประเทศจีน เป็นพืชที่ได้รับการบันทึกไว้ในเอกสารเก่าหลายฉบับว่า มีการปลูกเพื่อใช้ประโยชน์เพื่อเป็นพืชเส้นใย และปลูกเป็นพืชเสพติดมาแต่ดึกดํา บรรพ์

ภาพต้นกัญชาที่วาดขึ้นในช่วงปี ค.ศ.512.

คําว่ากัญชาเป็นคําเรียกเดิมที่มาจากภาษาอินเดีย ซึ่งชาวพื้นบ้านของอินเดียได้นําพืช ชนิดนี้ไปใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายที่สุดทั้งการเสพติด และเป็นเส้นใยมาตั้งแต่ดึกดําบรรพ์แล้วจากนั้นจึงมีผู้นํามา กระจายพันธุ์ยังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนถึงอินโดนีเซีย หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก และประเทศในย่านเขต ร้อนและเขตอบอุ่นของโลก ทั่วไปอย่างแพร่และกว้างขวางหลายในปี 960-1279ก่อนคริสตศักราชได้มีบันทึกว่าในประเทศจีนมีการ ปลูกกัญชงเพื่อเป็นพืชใช้ทําเส้นใย และในสมัยโรมันได้มีการนําพืชชนิดนี้จากทวีปเอเชีย เข้าไปปลูกในประเทศอิตาลี แล้วจากนั้นจึงแพร่หลายทั่วไปในทวีปยุโรปและทั่วโลก

หลักฐานแรกสุดที่แสดงให้เห็นถึงการนำกัญชามา “รับประทาน” เกิดขึ้นในประเทศจีนเมื่อประมาณ 6,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวจีนโบราณในยุคนี้จะนำเมล็ดกัญชามาสกัดเป็นน้ำมันเพื่อนำมาใช้เป็นอาหาร

ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนระบุว่า อาหารที่มีส่วนผสมของกัญชาจะออกฤทธิ์ให้คนที่ลิ้มรสต้องออกอาการเคลิบเคลิ้มด้วยหรือไม่ แต่ก็มีการเสนอกันว่าต้นกัญชาที่นำมาผลิตอาหารและเส้นใยต่างๆนี้ ยังมีสารที่เรียกว่า “เตตราไฮโดรแคนนาบินอล” (Tetrahydrocannabinol-THC) ในปริมาณที่ไม่มากนัก (เจ้าสารชื่อยาวเหยียดที่ว่านี้จะพบได้มากในช่อดอกและใบครับ) และสารชนิดนี้เองครับ ที่ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นประสาทจนทำให้ผู้ที่ได้ลิ้มรสกัญชาเกิดอาการตาเยิ้มได้

หลักฐานแรกที่บ่งบอกว่าคนโบราณรู้จัก “สรรพคุณ” ของกัญชาในแง่ของยารักษาโรคก็มาจากพี่จีนโบราณของเราเช่นเดิมครับ การนำเอากัญชามาสกัดเป็นยาเกิดขึ้นในสมัยของจักรพรรดิเสินหนง (Shen Nen) เมื่อราว 2,737 ปีก่อนคริสตกาล และในช่วงนี้เองครับที่พลังแห่งความมึนเมา ทำให้จิตล่องลอยประหนึ่งว่าสามารถติดต่อกับพลังเหนือธรรมชาติได้ของกัญชาเริ่มถูกนำมาเชื่อมโยงกับตำนานและพลังอันศักดิ์สิทธิ์ของเทพเจ้ามากขึ้น ส่งผลให้พืชมหัศจรรย์ชนิดนี้กลายมาเป็นหนึ่งในเครื่องบูชาที่ขาดไม่ได้ของพิธีกรรมในหลากหลายอารยธรรมโบราณทั่วโลก เช่น ชาวอินเดียโบราณมีการนำเอาใบกัญชาแห้ง, เมล็ดและกิ่งก้านของต้นกัญชามาใช้เป็นยาที่เรียกว่า “บัง” (Bhang) และยาชนิดนี้ก็ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ที่เรียกว่า “คัมภีร์อาถรรพณ์เวท” (Atharvaveda) ในฐานะ “หญ้าศักดิ์สิทธิ์” และชาวฮินดูก็จะใช้ยาที่เรียกว่า “บัง” นี้ในพิธีกรรมเพื่อถวายแด่พระศิวะตามความเชื่อของพวกเขาด้วยเช่นกัน

จักรพรรดิเสินหนง.

นอกจากอินเดียแล้ว อีกหนึ่งอารยธรรมโบราณที่มีหลักฐานของการใช้กัญชาในเชิงความเชื่อ, พิธีกรรมและนำมาใช้ในเชิงการแพทย์ด้วยเช่นกันก็คือ ชาวอียิปต์โบราณ นักอียิปต์วิทยาทราบว่าชาวไอยคุปต์เรียกกัญชาในภาษาของพวกเขาเองว่า “เชมเชมตู” (Shemshemtu) พืชชนิดนี้ถูกนำไปใช้ประโยชน์หลากหลาย ทั้งการนำไปแปรรูปเป็นเส้นเชือกและใบเรือเหมือนกับชนโบราณกลุ่มอื่นๆของโลก

นอกจากนั้น “นักวิชาเกิน” ส่วนหนึ่งยังพยายามเสนอว่าชาวไอยคุปต์อาจจะเชื่อมโยงรูปลักษณ์ของ “ใบกัญชา” 7 แฉกเข้ากับสัญลักษณ์รูปร่างคล้ายกันที่ไปปรากฏอยู่บนศีรษะของเทพีที่มีพระนามว่า “เซเชท” (Seshat) ซึ่งเป็นเทพีแห่งการจดบันทึกและความรู้ด้วย แต่ถึงอย่างนั้น นักอียิปต์วิทยาส่วนใหญ่ก็ยังไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้มากนัก

หลักฐานที่น่าเชื่อถือมากกว่าที่แสดงให้เห็นว่าชาวไอยคุปต์ทราบถึงประโยชน์ในทางการแพทย์ของกัญชาก็คือ กระดาษปาปิรัสทางการแพทย์อายุราว 1,600 ปีก่อนคริสตกาล ที่ระบุถึงการนำพืช “เชมเชมตู” และน้ำผึ้งมาเป็นส่วนประกอบของยาที่ช่วยในการคลอดบุตร นอกจากนั้นยังมีสูตรยาที่นำเอากัญชามาเป็นส่วนผสมของยาสำหรับล้างตาเพื่อรักษาอาการต้อหิน แสดงให้เห็นว่าชาวไอยคุปต์ก็มีการใช้ประโยชน์จากกัญชาในเชิงการแพทย์มายาวนานแล้วล่ะครับ

มาดูหลักฐานของการ “เสพ” หรือ “พี้” กัญชาเพื่อความบันเทิงเป็นครั้งแรกๆของโลกกันบ้างดีกว่า ชนชาติแรกที่บุกเบิกในการหาความสำราญจาก “กัญชา” คือชาวไซเทียน (Scythians) ที่อาศัยอยู่บริเวณตอนกลางของทวีปเอเชียและประเทศอิหร่านครับ พวกเขาเริ่มต้นจากการปลูกกัญชาเพื่อใช้ในการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มมาก่อน แต่หลังจากนั้นในช่วงประมาณ 480 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไซเทียนเริ่มเห็นคุณสมบัติพิเศษทางด้านการให้ความสำราญของพืชชนิดนี้ และเริ่มนำมาใช้ “เสพ” เพื่อความบันเทิงเป็นครั้งแรกๆของโลก

นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกนามว่า เฮโรโดตัส (Herodotus) บันทึกเอาไว้ในหนังสือ “ประวัติศาสตร์” เล่มที่ 4 บทที่ 75 ใจความว่า “ชาวไซเทียนจะนำเมล็ดของต้นกัญชามาแล้วคลานเข้าไปใต้เสื่อ พวกเขาจะโยนเมล็ดกัญชาลงไปบนหินที่ร้อนแดงจนมันพ่นควันออกมา ชาวไซเทียนจะร้องโหยหวนด้วยความสุขกับไอควันนั้น พวกเขาอาบควันแทนน้ำเพราะพวกเขาไม่เคยอาบน้ำเลย” นั่นหมายความว่า ชาวไซเทียนเป็นกัญชาชนยุคบุกเบิกที่ริเริ่มการ “พี้กัญชา” เพื่อความบันเทิงเป็นกลุ่มแรกๆของโลกอย่างแน่นอนล่ะครับ

หลังจากนั้นเป็นต้นมา กัญชาก็เริ่มถูกใช้งานเพื่อความบันเทิงมากขึ้น นักประวัติศาสตร์ทราบจากงานเขียนโบราณหลายชิ้นว่า ชาวกรีกและโรมันก็เสพกัญชาเช่นกัน บันทึกจากหนังสือ “ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ” ของนักเขียนชาวโรมันอย่างพลินีผู้ชรา (Pliny the Elder) กล่าวว่าชาวโรมันมักจะนำสิ่งที่เรียกว่า “ใบไม้แห่งเสียงหัวเราะ” (Leaves of Laughter) ผสมลงไปในไวน์สำหรับดื่มเพื่อความมึนเมาด้วย นักวิชาการตีความว่าเจ้าใบไม้แห่งเสียงหัวเราะที่ว่านี้ก็คงจะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจาก “ใบกัญชา” อย่างแน่นอนเลยทีเดียว

นอกจากการใช้กัญชาเพื่อความเคลิบเคลิ้มแล้ว เอกสารของชาวโรมันยังระบุถึงการใช้กัญชาในการรักษาเชิงการแพทย์เอาไว้หลายขนาน ซึ่งก็สอดคล้องกับวิทยาการในปัจจุบันที่ให้การยอมรับแล้วว่าถ้าใช้ในปริมาณที่เหมาะสม กัญชาก็เป็น “ยา รักษาโรค” ได้หลายชนิด

ถัดจากยุคของชาวโรมัน การใช้กัญชาได้แพร่หลายเข้าไปในยุโรป จนถึงช่วงยุคกลางก็ยังพบหลักฐานของการใช้พืชมหัศจรรย์ชนิดนี้ในฐานะของยารักษาโรคกันอยู่ บ้างก็นำมาทำเครื่องดื่มและบ้างก็นำมาพี้เพื่อความบันเทิงกันอย่างไม่ขาดสาย ในช่วงหลังจากปี ค.ศ.800 เป็นต้นมา กัญชาถือว่าเป็นที่นิยมในภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นอย่างยิ่ง อันเป็นผลมาจากการแผ่ขยายอำนาจของชาวมุสลิมออกไปในหลายพื้นที่ และถึงแม้ว่าชาวมุสลิมจะถูกห้ามมิให้ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งสารมึนเมาอื่นๆ ทว่าพระคัมภีร์อัลกุรอานของศาสนาอิสลามกลับไม่ได้ระบุถึงกัญชาแต่อย่างใด นั่นจึงทำให้พืชชนิดนี้แพร่กระจายไปทั่วพื้นที่ตะวันออกกลางอย่างรวดเร็ว

นับตั้งแต่ช่วงยุคกลางเป็นต้นมา ชาวยุโรปก็เริ่มเล็งเห็นถึงประโยชน์ของกัญชากันมากยิ่งขึ้น เราทราบว่าในช่วงประมาณปี ค.ศ.1621 รายงานเรื่อง “กายวิภาคศาสตร์ของโรคซึมเศร้า” (Anatomy of Melancholy) ถูกเรียบเรียงเขียนขึ้นโดยนายแพทย์โรเบิร์ต เบอร์ตัน (Robert Burton) ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคซึมเศร้าเพื่อระบุว่ากัญชาอาจจะใช้รักษา หรือบรรเทาอาการที่เกิดจากโรคนี้ได้

อีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์สำคัญของกัญชาเกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาช่วงปี ค.ศ.1972 สมัยประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน (RichardNixon) ด้วยว่าในช่วงนั้นประธานาธิบดีนิกสันพยายามทำสงครามกับยาเสพติด เขาจึงให้เวลาทีมวิจัยจากเวอร์จิเนียสองปีในการศึกษาว่ากัญชาส่งผลต่อมะเร็งปอดในมนุษย์อย่างไร โดยหวังว่าถ้าผลลัพธ์ออกมาว่ากัญชามีผลเสียเหมือนกับบุหรี่ก็จะได้จัดการกำราบให้เด็ดขาด แต่สุดท้ายแล้วผลลัพธ์กลับออกมาตรงกันข้าม รายงานกลับสรุปว่ากัญชาสามารถเข้าโจมตีเซลล์มะเร็งในร่างกายได้ แถมยังไม่มีผลข้างเคียงอีกด้วย!! เมื่อประธานาธิบดีนิกสันเห็นผลรายงานที่ผิดคาดเข้าก็หัวเสียเลยตัดสินใจโยนรายงานนั้นทิ้งลงถังขยะไปซะ ก่อนที่จะปิดเรื่องนี้เอาไว้เป็นความลับมาอย่างยาวนานหลายสิบปีเลยทีเดียว

การศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์

กัญชงและกัญชา เดิมมีชื่อวิทยาศาสตร์เดียวกันคือ (Cannabis sativa L.)แต่เดิมนักพฤกษศาสตร์ได้จัดให้ อยู่ในวงศ์ตําแย (Urticaceae) แต่ต่อมาภายหลังพบว่ามีคุณสมบัติและลักษณะเฉพาะหลายประการที่ต่างออกไปจาก พืชในกลุ่มตําแยมากจึงได้รับการจําแนก ออกเป็นวงศ์เฉพาะคือ (Cannabidaceae)ในปีค.ศ. 1998 หรือ พ.ศ. 2541 นี้เองนักพฤกษศาสตร์ชาวอเมริกัน ได้จําแนก กัญชาและกัญชง ออกจากกันโดยลักษณะทางสัณฐานวิทยา (Morphology) และพฤกษเคมี (Phytochemistry) โดยให้ชื่อวิทยาศาสตร์ของกัญชง Cannabis sativa L. subsp. Sativaและกัญชา Canabis sativa L. subsp. indica (Lam.) E.Small & Cronquist ด้วยลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ทางพฤกษศาสตร์ และการใช้ประโยชน์

ข้อสังเกตในการจําแนกเฮมพ์ (Sativa) และกัญชา (Indica)

ต้นเฮมพ์โดยทั่วไปสูงใหญ่กว่าต้นกัญชาและจะสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนกัญชามักสูงไม่ เกิน 2 เมตรใบเฮมพ์ จะมีขนาดใหญ่กว่า มีการเรียงสลับของใบค่อนข้างห่างชัดเจนและไม่มียางเหนียวติดมือ ส่วนกัญชาใบจะเล็กกว่าเฮมพ์เล็กน้อย การเรียงตัวของใบจะชิดกันหรือเรียงเวียนใกล้ โดยเฉพาะใบประดับช่อดอกจะเป็นกลุ่มแน่น ชัดเจนและมักมียางเหนียวติดมือ ดอก ของพืชทั้ง 2 ชนิด มีขนาดและสีไม่ แตกต่างกัน ทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย

ลักษณะกัญชา

ต้นกัญชามีลักษณะทั่วไป คือ ลำต้นสูงประมาณ 2-5 เมตร ใบเลี้ยงคู่เมื่อโตเต็มวัยลำต้นสูงประมาณ 2-4 ฟุต ลักษณะใบจะแยกออกเป็นแฉกประมาณ 5-8 แฉก มีลักษณะคล้ายใบมันสำปะหลังที่ขอบใบทุกใบจะมีรอยหยักอยู่เป็นระยะ ๆ ออกดอกเป็นช่อเล็ก ๆ ตามง่ามของกิ่งและก้าน ส่วนที่คนนำมาเสพได้แก่ส่วนของยอดช่อดอกกัญชา โดยนำมาตากหรืออบแห้ง แล้วบดหรือหั่นให้เป็นผงหยาบ ๆ จากนั้นจึงนำมายัดไส้บุหรี่สูบ (แตกต่างจากบุหรี่ทั่วไปที่ไส้บุหรี่จะมีสีเขียว ต่างจากไส้ยาสูบที่มีสีน้ำตาล และขณะจุดสูบจะมีกลิ่นเหมือนหญ้าแห้งไหม้ไฟ) หรืออาจสูบด้วยกล้องหรือบ้องกัญชา บ้างก็ใช้เคี้ยวหรือผสมลงในอาหารรับประทาน ปัจจุบันรูปแบบของกัญชาที่พบ นอกจากจะพบในลักษณะของกัญชาสด กัญชาแห้งอัดเป็นแท่งเป็นก้อนแล้ว ยังอาจพบในรูปของ “น้ำมันกัญชา” (Hashish Oil) ซึ่งมีลักษณะเป็นของเหลวสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ ซี่งได้จากการนำกัญชามาผ่านกระบวนการสกัดหลาย ๆ ครั้ง จึงได้เป็นน้ำมันกัญชาที่มีปริมาณสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทสูงถึง 20-60% หรืออาจพบในลักษณะของ “ยางกัญชา” (Hashish) เป็นยางแห้งที่ได้ยอดช่อดอกกัญชา ซึ่งโดยทั่วไปจะมีฤทธิ์แรงกว่ากัญชาสด และมีปริมาณสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ประมาณ 4-8 เท่า