Loading

ตั้งชื่อบริษัท ตั้งชื่อร้าน หรือตั้งชื่อแบรนด์มีผลอย่างมากสำหรับธุรกิจขนาดเริ่มต้นใหม่ บทความนี้จะแนะนำไอเดียสำหรับการตั้งชื่อ การจดบริษัทใหม่ให้น่าจดจำและไม่ซ้ำใคร แนะนำเว็บไซต์สำหรับคิดคำ ผสมชื่อ (Name generator) รวมไปถึงตั้งชื่อ Domain name ของเว็บไซต์ด้วย มาติดตามกันเลย

วิธีเลือกชื่อบริษัท ชื่อร้านให้คุ้นหู เป๊ะปัง

  1. ค้นหาว่ามีชื่อบริษัทนี้ในตลาดแล้วหรือไม่
    สามารถ ตรวจสอบชื่อบริษัท ที่จดทะเบียนในประเทศได้ผ่านทาง Creden.co ลองดูว่าชื่อของเราซ้ำแล้วหรือยัง ใครใช้ชื่อใกล้เคียงกับเราบ้าง สามารถตรวจสอบได้ทุกบริษัทในประเทศไทยเลยครับ
  2. คิดนอกกรอบ
    ลองลิสต์ชื่อบริษัทที่เราสนใจออกมาเป็นคำหลาย ๆ คำก่อนหลังจากนั้นค่อยเอามาตัดตัวเลือกภายหลัง
    เตรียมคำที่สนใจ จดใส่ในกระดาษให้เรียบร้อย เดี๋ยวเราจะแนะนำให้ทุกท่านใช้งานเว็บไซต์ช่วยผสมคำด้านล่างนี้
  3. ปรึกษาคนรอบตัว
    เมื่อได้ชื่อที่น่าสนใจแล้ว ลองเอาไปถามเพื่อนและครอบครัวว่าชื่อไหนจะติดปาก จำง่าย คุ้นหูมากที่สุด
  4. ทดสอบชื่อ
    ทำการทดสอบชื่อด้วยการทำรีเสิชกับกลุ่มผู้เป้าหมายหรือผู้ซื้อในอนาคตของเรา เทคนิคนี้เรียกว่า Focus group เพื่อดูว่าชื่อนี้จะเข้ากับกลุ่มเป้าหมายของเราหรือไม่ (แต่ต้องถามคนที่เรายังไม่ได้ถามในข้อ 3 นะครับ) หรือทำแบบทดสอบ Survey ออกไปสำรวจเพื่อดูว่าชื่อไหนจะเหมาะสมที่สุด

11 วิธีการตั้งชื่อบริษัท ตั้งชื่อร้าน ลองผสมชื่อจากไอเดียแนะนำดังต่อไปนี้

วิธีการตั้งชื่อแบรนด์ให้ติดหู และมีความหมายถือว่าเป็นอะไรที่ท้าทายมาก ๆ เรามาดูกันเลยว่าชื่อไหนที่จะเหมาะสมกับธุรกิจของเรา

  1. ตั้งชื่อที่ไม่ซ้ำใคร เป็นคำศัพท์ใหม่ที่ยังไม่มีบนโลกใบนี้
    วิธีนี้อาจจะค่อนข้างยากนิดหน่อยนะครับ เพราะจะต้องเป็นคำที่เราคิดค้นมาใหม่ ไม่เคยได้ยินที่ไหนมาก่อน เช่น Google, Trulia
  2. ใช้หลายคำมาผสมกัน ใช้เทคนิคการจับคำศัพท์ที่มีอยู่แล้วมาผสมกันให้เป็นคำใหม่ ทำให้เราสามารถตั้งชื่อบริษัทที่ไม่ซ้ำใครได้ครับ
    เช่น Face+book, Bit+coin, Block+chain
  3. ใช้คำต่างภาษา ใช้ภาษาต่างประเทศมาสร้างเป็นชื่อบริษัท
    เช่น Toyota, Audi, Volkswagen, Toshiba, Daikin
  4. เอาคำศัพท์มาตัดแล้วผสมใหม่ เอาคำศัพท์ยาว ๆ มาตัดคำ แล้วผสมกับคำใหม่เข้าไปข้างใน
    เช่น Fed+ex, Insta+gram
  5. ใช้คำแบบสะกดผิด เอาคำศัพท์ที่มีอยู่แล้วมาสะกดให้ผิด ทำให้เราจะได้คำใหม่ขึ้นมา
    เช่น Lyft, Flickr
  6. ใช้คำศัพท์จริงที่มีอยู่แล้ว เทคนิคนี้จะค่อนข้างยากมากในการตั้งชื่อ เพราะคำศัพท์ที่มีอยู่แล้วนั้นอาจจะโหลและซ้ำได้ครับ แปลว่าคนส่วนใหญ่อาจจะใช้ไปแล้ว แต่ถ้าตั้งได้ก็จะทำให้แบรนด์ของเราเป็นที่คุ้นเคยกับคนทั่วโลกได้เลยครับ
    เช่น Apple, Amazon, Square, Block, Central
  7. คำคล้องจอง ใช้คำคล้องจองมาวางคู่กันจะทำให้ชื่อแบรนด์ของเราติดหูมากยิ่งขึ้น โดยจะต้องเป็นคำที่อ่านออกเสียงคล้ายกัน
    เช่น Sub+Hub, Fire+Wire
  8. ใช้ชื่อคน เทคนิคนี้จะใช้ชื่อเจ้าของแบรนด์มาช่วยทำให้แบรนด์ของเราเป็นที่น่าจดจำ
    เช่น Giorgio Armani, แม่ประนอม, หมูทอดเจ๊จง, Adidas, Johnson & Johnson, Balenciaca, Yakult
  9. ใช้ตัวย่อ เช่น KFC, IBM, AWS, H&M, 3M, และ DHL
  10. ใช้ชื่อที่เป็นคำอธิบาย คือการใช้ชื่อแบรนด์ของเราเป็นแบบคำยาว ๆ ที่มีคำอธิบายนั่นเองครับ
    เช่น เนื้อหมูแดดเดียวตราอีเหมียวปีนตู้กับข้าว, Lean Cuisine, Wellman, Burger King, และ 7-Eleven
  11. ผสมตัวเลขเข้าไปในชื่อ ถ้าหากเราได้ชื่อแล้ว แต่ยังไง๊ยังไงก็ยังซ้ำกับคนอื่นอีกอยู่ดี เรามาลองใส่ตัวเลขเข้าไปในชื่อแบรนด์ของเรา
    เช่น 7-Eleven, 888 Poker, MS Office 365, Jigsaw24, WD40, Five Guys, และ 3M

เว็บไซต์เสนอไอเดียตั้งชื่อบริษัท ตั้งชื่อร้าน เท่ ๆ เก๋ ๆ

  1. Business name generator

    เท่ห์ ๆ ออกมาให้เราใช้งานแยกตามหมวดหมู่ธุรกิจได้ด้วย เช่น เราอยากเปิดร้านกาแฟ ตั้งชื่อร้านกาแฟ เราก็เลือกไปที่ Industry แล้วเลือกหมวดหมู่เป็น Cafe เว็บไซต์นี้ยังช่วยให้เราตรวจสอบชื่อ Domain ที่ว่างได้อีกด้วย หากท่านสนใจจด Domain name หรือจด Hosting เราขอแนะนำบริการของไทยที่ยอดนิยมที่สุดในกลุ่ม WordPress Bangkok คือ Hostatom, Rukcom

    ใช้งาน Business name generator

  2. Namelix

    Namelix เว็บไซต์ที่จะช่วยให้คุณวางแผนการจดบริษัทให้ชื่อจำง่าย ถ้าถามว่าทั้งสิบเว็บไซต์ที่แนะนำไปในวันนี้ ผู้เขียนชอบเว็บไซต์ไหนมากที่สุด เว็บไซต์ไหนให้ชื่อที่น่าสนใจและแปลก ๆ มากที่สุด ก็คงจะต้องขอยกให้ Namelix เลย

    ข้อดีของเว็บไซต์นี้คือจะใช้ระบบ AI ในการคำนวนชื่อออกมา เพียงแค่คุณใส่ที่คุณต้องการลงไป ทางเว็บไซต์จะคำถามมาถามเราว่า ต้องการใช้ชื่อความยาวกี่คำ เช่น 3-6 ตัวอักษร, 6-12 ตัวอักษร, 12+

    หลังจากนั้นเว็บไซต์จะถามว่าคุณชอบชื่อประมาณไหน เช่น

    1. Brandable names popular อย่าง Google and Trulia
    2. Multiple word เช่น Facebook and Bitcoin
    3. Foreign words​ เช่น Toyota and Audi
    4. Compound word เช่น Fedex and Instagram
    5. Mispellings เช่น Lyft and Flickr
    6. Real words เช่น Apple and Amazon
    7. Rhyming words เช่น SubHub and FireWire
    8. Person names เช่น Giorgio Armani

    หลังจากนั้นระบบจะแสดงโลโก้พร้อมชื่อออกมาให้เราเลือกตามภาพด้านล่างนี้ ถือว่าใช้งานง่ายและช่วยปรับให้ตรงกับความต้องการของเราด้วย
    ใช้งาน Namelix

  3. Shopify business name generator

    เว็บไซต์ Shopify ได้ทำระบบช่วยคิดชื่อบริษัทออกมาสำหรับคนที่อยากตั้งชื่อร้าน โดยคุณสามารถเลือกชื่อที่ไม่ซ้ำได้ทันที ใช้งานง่าย ๆ เพียงแค่กรอกชื่อที่คุณสนใจลงไป ระบบก็จะช่วยเสนอแนะข้อมูลชื่อที่ยังว่างบนระบบของ Shopify ออกมาให้

    มีข้อเสียอย่างหนึ่งคือคุณอาจจะต้องเอาไปเช็คกับเว็บไซต์ที่จดโดเมนเนมอีกครั้ง ว่าชื่อนี้ยังว่างอยู่หรือไม่

    โดยจากที่ผมทดลองใช้งานระบบนี้จะเหมาะสมกับคนที่ทำธุรกิจขายของและบริการครับ อาทิเช่น

    • ตั้งชื่อร้านออนไลน์
    • ตั้งชื่อร้านเสื้อผ้าเก๋ ๆ
    • ตั้งชื่อร้านค้า
    • ตั้งชื่อร้านอาหาร
    • ตั้งชื่อร้านอาหารภาษาอังกฤษ

    ใช้งาน Shopify

  4. Oberlo

    เว็บไซต์ Oberlo นี้จะช่วยให้คุณตั้งชื่อบริษัทแบบผสมคำได้ โดยเว็บไซต์จะนำเสนอคำในรูปแบบต่าง ๆ มาผสมกับคำที่เรากรอกลงไป ตัวเลือกที่ออกมาจะเป็นสไตล์การตั้งชื่อแบบคำศัพท์ภาษาอังกฤษสองคำรวมกัน คล้ายกับ Face+book, Bit+coin, Star+bucks เหมือนตัวอย่างที่ผมได้แนะนำไปด้านบนสุดครับ

    ใช้งาน Oberlo


  5. Namesmith

    ข้อดีของ Namesmith คือจะให้บริษัทตรวจสอบชื่อของโดเมนที่ยังว่างอยู่ได้เลยบนหน้าเว็บไซต์พร้อมกับตั้งชื่อบริษัทไปด้วย ในเว็บยังช่วยแนะนำชื่อแบบผสมคำในรูปแบบต่าง ๆ ที่น่าสนใจมาให้เราลองเลือก เช่น การผสมคำแบบ Blends, คำคล้องจองให้มี Rymes เก๋ ๆ เพื่อทำให้ชื่อบริษัทของเรานั้นคุ้นหู จำง่าย, Modifications คำแบบสลับตำแหน่งตัวอักษร เป็นต้น

    จากภาพเพียงแค่เราใส่คำว่า Wise ลงไป ระบบก็จะแนะนำคำที่มาผสมกับคำว่า Wise ให้เรานำไปใช้งานได้ทันที

    ใช้งาน Namesmith

  6. Wix business name generator

    จุดเด่นของ Wix คือ คุณสามารถเลือก filter ประเภทของ ธุรกิจที่คุณต้องการได้จากด้านบน มีธุรกิจหลากหลายประเภทให้เราเลือก เมื่อกดปุ่ม Generate แล้ว ระบบจะแสดงชื่อที่น่าสนใจมาให้บนหน้าจอ และถ้าหากเราคลิ๊กไปที่ชื่อนั้น ๆ เราจะสามารถเช็คชื่อโดเมนที่ยังว่างอยู่ได้ ทำให้สามารถนำชื่อนี้ไปใช้งานได้ทันที ง่ายและรวดเร็ว ตรวจสอบได้ทั้งชื่อบริษัทและชื่อโดเมน

    ใช้งาน Wix business name generator

  7. Anadea Business name guide

    ระบบช่วยค้นหาชื่อจาก Anadea อันนี้จะเป็นสไตล์การผสมคำศัพท์หลาย ๆ คำเข้าด้วยกัน ถ้าใครที่ชื่นชอบสไตล์การผสมคำศัพท์ที่มีความหมายในภาษาอังกฤษแล้วล่ะก็ Anadea ก็จะตอบโจทย์อย่างแน่นอน

    ใช้งาน Andea

  8. Namemesh

    Namemesh เป็นเว็บไซต์ยอดนิยมสำหรับคนที่ทำธุรกิจโดเมน เพราะว่าเว็บไซต์นี้จะช่วยเสนอแนะชื่อโดเมนที่ยังว่างอยู่ โดยผ่านระบบของ AI ทำให้ชื่อที่ออกมามีหลากหลายรูปแบบไม่ซ้ำใครและน่าสนใจ จากภาพเมื่อเราใส่คำว่า Pink ลงไป ระบบก็จะไปค้นหาชื่อโดเมนที่ยังว่างอยู่ โดยที่มีคำว่า pink เป็นส่วนประกอบ ข้อดีคือช่วยคำนวนให้ด้วยว่าชื่อโดเมนไหนที่สั้นที่สุด

    ใช้งาน Namemesh

  9. Getsocio

    เว็บไซต์ Getsocio ช่วยคิดชื่อโดยสามารถเลือกจากหมวดหมู่ของธุรกิจได้ เว็บไซต์นี้จะเป็นสไตล์การผสมคำภาษาอังกฤษสองคำมารวมกัน ทำให้เกิดเป็นคำใหม่ พร้อมทั้งเช็คชื่อโดเมนได้ทันที

    ใช้งาน Getsocio


  10. Looka

    Looka ช่วยค้นหาชื่อบริษัทโดยสามารถกำหนดความยาวของตัวอักษร character โดยเว็บไซต์แบ่งหมวดหมู่การนำเสนอคำศัพท์มาให้เราดังต่อไปนี้

    1. Invented names – คำที่คิดขึ้นมาใหม่
    2. Compound names – คำแบบผสมกันไปมา
    3. Multiword names – คำที่ใช้หลาย ๆ คำมารวมกัน
    4. Real-word names – คำที่มีอยู่ในภาษาอังกฤษ มีความหมายจริง

    สามารถเลือกความยาวของตัวอักษรได้ตามที่เราต้องการ รวมไปถึงยังมีบริการช่วยออกแบบโลโก้และสมัครสมาชิกโดเมนเนมต่อได้อีก ครบจบในที่เดียว

    ถือว่าเป็นเว็บไซต์ที่นำเสนอตัวเลือกมาได้ครบและน่าสนใจอีกเว็บไซต์นึงเลยครับ
    บริการกำจัดปลวก
    ดูดส้วม