Loading

การดําเนินกลยุทธ์ทางธุรกิจในภาวะผันผวน : กลยุทธ์ลดต้นทุนเพื่อเพิ่มกําไร

ปัจจุบัน ผู้ประกอบการไทยต่างประสบกับปัจจัยเสี่ยงมากมาย ทั้งจากความไม่แน่นอนทางการ
เมือง , แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และการแข่งขันในจากต่างประเทศที่นับวัน
จะทวีความรุนแรง และมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ทําให้ผู้ประกอบการต่างค้นหากลยุทธ์
การรับมือและปรับตัวกับสถานการณ์ต่างๆ เหล่านั้น บางกลยุทธ์ใช้แล้วประสบความสําเร็จ
ในขณะที่บางกลยุทธ์ใช้แล้วประสบความลมเหลว แต่ภายใต้กลยุทธ์เหล่านั้น ล้วนมาจาก
เป้าหมายการทํากำไรสูงสุด (Maximize Profit) ด้วยกันทั้งสิ้น ทั้งนี้กลยุทธ์หลักๆ
ที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายประกอบไปด้วย 2 กลยทธุ์หลัก คือ

เป้าหมาย Maximize Profit :
กําไร เท่ากับ รายได้ – ต้นทุน
กลยุทธ์ที่ 1 Income Targeting :
รายได้ เท่ากับ กําไร + ต้นทุน
กลยุทธ์ที่ 2 Cost Targeting :
ต้นทุน เท่ากับ กําไร – รายได้

กลยุทธ์ที่ 1 : เป้าหมายการเพิ่มรายได้ (Income Targeting)

หลายบริษัทคงคุ้นเคยเป็นอย่างดี ( เป็นกลยุทธ์ที่ใช้กันมานาน )

จุดเด่นของกลยุทธ์นี้ คือ สามารถเพิ่มกําไรได้มาก ภายใต้เงื่อนไขเศรษฐกิจดีมีคู่แข่ง
น้อยราย สินค้ามีจํานวนไม่มากและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค แต่หากพิจารณาวิธีการเพิ่ม
รายได้ภายใต้ปัจจัยเสี่ยงในสถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มอนาคต จะพบว่า การเพิ่มราคา
สินค้า การลดราคาสินค้า การเพิ่มส่วนแบ่งตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่และการ
พัฒนา Brand เพื่อสร้างยอดขายเป็นเรื่องที่กระทําได้ไม่ง่ายนัก ภายใต้สภาวแวดล้อมทางธุรกิจ
ที่มีความเสี่ยงมากมายที่ไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งหากนําไปปฏิบัติในเวลานี้ อาจทําให้รายได้
ลดลงแทนที่จะเพิ่มขึ้น เช่น

      • วิธีเพิ่มราคาขาย เพื่อเพิ่มรายได้ไม่เหมาะสมในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว
        และผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่นในการจับจ่ายใช้สอย

 

      • วิธีลดราคาขายเพื่อเน้นขายปริมาณมากๆ คู่แข่งอาจจะตอบโต้ด้วยวิธีลดราคา
        ขายเช่นเดียวกัน แข่งกันไปแข่งกันมา สุดท้ายก็ขาดทุนจนต้องปิดกิจการกันทั้งคู่

 

      • วิธีเพิ่มส่วนแบ่งตลาด คงไม่ใช่วิธีที่ง่ายนัก เพราะปัจจุบันคู่แข่งมาก สินค้าต้องมี
        ความโดดเด่นจริงจึงอาจเลือกกลยุทธ์นี้

 

    • วิธีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการใหม่ รวมทั้งการสร้าง Brand เพื่อสร้าง
      ยอดขาย
      เป็นแนวคิดที่ดีแต่หากให้เห็นผลภายในระยะเวลาอันสั้น คงเป็นเรื่อง
      ยาก เพราะกระบวนการพัฒนาดังกล่าวต้องใช้งบประมาณ และระยะเวลาในการ
      พัฒนาสูง

กลยุทธ์ที่ 2 : เป้าหมายการลดต้นทุน (Cost Targeting)

นับว่าเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับ
สถานการณ์ปัจจุบัน และในอนาคตมากที่สุด ทั้งนี้มีบริษัทชั้นนําของโลกหลายๆ บริษัท นําเริ่ม
แนวคิดไปปฏิบัติบ้างแล้ว โดยเฉพาะบริษัทข้ามชาติของญี่ปุ่น

จุดเด่นของกลยุทธ์นี้ คือ สามารถปรับใช้ได้ทุกสถานการณ์ไม่ว่าเศรษฐกิจจะดี
หรือไม่ดี คู่แข่งจะมากหรือน้อย กลุ่มผู้บริโภคจะมีทางเลือกในการซื้อสินค้าหลากหลายแหล่ง
หรือไม่ก็ตาม เพราะกลยุทธ์นี้เน้นการควบคุมปัจจัยภายใน จนนําไปสู่การลดต้นทุนในที่สุด ซึ่ง
การควบคุมปัจจัยภายในจะง่ายกว่าการควบคุมปัจจัยภายนอก สําหรับวิธีการลดต้นทุนเพื่อเพิ่ม
กําไรของกลยุทธ์นี้ประกอบไปด้วย

      • เพิ่มผลิตภาพ (PRODUCTIVITY) เพื่อความเข้มแข็ง และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (Competition) แบ่งการพัฒนาออก 2 ด้าน คือ
          1. การพัฒนาด้านทักษะแรงงาน ได้แก่
            • ควรพิจาณาอัตราค่าจ้าง โดยใช้หลักเกณฑ์วัดจากความสามารถ
              (Competency)และประสบการณ์เป็นสําคัญ
            • ควรมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนางานแก่ลูกจ้างโดยอาจจัดหาครูหรือ
              วิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญมาฝึกอบรมให้ความรู้แก่ลูกจ้าง

         

        1. การพัฒนาด้านการบริหารจัดการ ได้แก่
          • ควรมีการกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) อย่างชัดเจน และเร่งสร้างความเข้าใจใน
            พนักงานทุกระดับชั้น เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปในทางเดียวกัน
          • ควรหาเครื่องมือใหม่ ๆ มาใช้ในการบริหารจัดการ เช่น นําเครื่องคอมพิวเตอร์
            และอุปกรณ์ (Hardware) มาใช้ให้งานสะดวกขึ้น
          • ควรหมั่นศึกษาความรู้ทางการตลาดอยู่เสมอ เพราะแนวโน้มทางการตลาด มี
            การเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
          • ต้องพัฒนานวัตกรรม (Innovation) อยู่เสมอ เพื่อให้เกิดสิ่งแปลกใหม่ และจะ
            นําไปสู่ความชื่นชอบของลูกค้า

 

      • เพิ่มคุณภาพสินค้า ข้อนี้มีความสัมพันธ์กับแรงงานหรือลูกจ้างโดยตรง หาก
        แรงงานมีฝีมือดี บริษัทก็สามารถเพิ่มคุณภาพให้กับสินค้าได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
        ในการซื้อเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามา ดังนั้น ในกระบวนการเลือกสรรแรงงาน ไม่ควร
        พิจารณาเฉพาะแรงงานราคาถูก ให้ท่านพึงระลึกไว้เสมอว่า “ของถูกและดี ไม่มีในโลก”

 

      • ลดความสูญเปล่า เริ่มต้นด้วยการพิจารณากระบวนการผลิตแต่ละสวนในอดีต
        ค่าใช้จ่ายเป็นเท่าใด หลังจากนั้น นํามาเปรียบเทียบกัน ดูว่าส่วนใดพอที่จะลด
        ค่าใช้จ่ายได้บ้าง เพื่อลดความสูญเปล่า

 

    • ลดสินค้าคงคลัง สินค้าคงคลังเป็นต็นทุนอย่างหนึ่งทางธุรกิจ หากบริษัทสามารถ
      ลดสินค้าคงคลังได้ หรือสามารถบริหารสินค้าคงคลังได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า
      พอดี จะทําให้ลดต้นทุนได้มาก ทั้งนี้ผู้ประกอบการสามารถนําวิธีการจัดการสินค้าคง
      คลังแบบ Just in time ที่ทําให้บริษัทญี่ปุ่นประสบความสำเร็จ มาปรับใช้กับการจัดการ
      สินค้าคงคลังขององค์กรได้

กลยุทธ์การลดต้นทุนดังกล่าวข้างต้นจะไม่สามารถสําเร็จได้ หากลูกจ้างไม่ให้ความ
ร่วมมือ ดังนั้น การดําเนินกลยุทธ์นี้ผู้ประกอบการควรแจ้งให้ลูกจ้างทราบว่า เมื่อทําแล้วจะเกิด
ประโยชน์อย่างไร ทั้งนี้ สิ่งที่จะกระตุ้นให้ลูกจ้างปฏิบัติตามกลยุทธ์นี้ คือ ผู้ประกอบการควรแจ้ง
ให้ลูกจ้างเห็นผลดีของการลดต้นทุนว่า หากช่วยกันลดต้นทุนได้มากขึ้น จะทําให้บริษัทมีกําไร
เพิ่มขึ้น และเมื่อบริษัทมีกําไรเพิ่มขึ้น ลูกจ้างก็จะได้รับค่าจ้างซึ่งเป็นผลตอบแทนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

กล่าวโดยสรุป ผู้ประกอบการไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่า
เหตุการณ์ในอนาคตจะเป็นอย่างไร ดังนั้น กลยุทธ์ที่เหมาะสมใน
สถานการณ์เช่นนี้ คือ กลยุทธ์ที่มีเป้าหมายการลดต้นทุนที่มุ่งเน้นการจัดการตนเองเป็นอันดับ
แรก เพราะนอกจากจะช่วยให้เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และการจัดการแล้ว ยังช่วยเพิ่ม
กําไรได้ในสถานการณ์ที่ไม่มีความแน่นอน หรือเรียกได้ว่า กลยุทธ์ที่มีเป้าหมายการลดต้นทุน
คือ “กลยุทธ์ที่เน้นลดต้นทุนเพื่อเพิ่มกําไรภายใต้ปัจจัยภายนอกที่ผู้ประกอบการไม่
สามารถควบคุมได้”

::: ขอบคุณรูปภาพจาก :::
www.jaymart.co.th

========================================